กฏมือซ้าย
มิเตอร์ (Meter) ถือเป็นเครื่องมือวัดไฟฟ้าแบบพื้นฐานที่ถูกสร้างขึ้นมาใช้งานอย่างแพร่หลายทั่วไปมิเตอร์ชนิดนี้จะมีส่วนแสดงผลอยู่ในรูปของเข็มชี้บ่ายเบนไปเรียกส่วนนี้ว่า ส่วนเคลื่อนไหวของมิเตอร์ (Meter Movement) ซึ่งจะเป็นชนิดมิเตอร์กระแสไฟตรง (Direct – Current Meters) เข็มชี้ของมิเตอร์(Pointer)ที่บ่ายเบนไปได้อาศัยหลักการหมุนตัวของขดลวดเคลื่อนที่ (Moving Coil) ถูกวางอยู่ในสนามแม่เหล็ก (Magnetic Field) ของแม่เหล็กถาวร (Permanent Magnet) ในขณะที่มีกระแสไฟตรงไหลผ่านขดลวดเคลื่อนที่มิเตอร์ชนิดนี้เรียกว่ามิเตอร์ชนิดขดลวดเคลื่อนที่ (Moving Coil Type Meter) มิเตอร์ชนิดนี้เป็น มิเตอร์ใช้วัดไฟกระแสตรง(DC) เมื่อมีไฟกระแสตรงไหลผ่านมิเตอร์ มิเตอร์จึงสามารถบ่ายเบนไปแสดงค่าการวัดออกมาได้ มิเตอร์ชนิดขดลวดเคลื่อนที่เป็นการนำเอาหลักการทำงานของสนามแม่เหล็กถาวรและสนามแม่เหล็กไฟฟ้ามาทำงานร่วมกันโดยอาศัยการผลักกันของสนามแม่เหล็กทั้ง สอง ทำให้เกิดการบ่ายเบนไปของเข็มชี้มิเตอร์โครงสร้างของมิเตอร์เบื้องต้นประกอบด้วยแม่เหล็กถาวรขั้วเหนือ (N) และขั้วใต้ (S) วางไว้ใกล้กันระหว่างกลางของขั้วแม่เหล็ก ทั้งสองมีขดลวดเคลื่อนที่พันอยู่บนแกนวางอยู่ต่อปลายของขดลวดเคลื่อนที่ออกมาภายนอกใช้เป็นจุดต่อจ่ายแรงดัน และกระแสแกนขดลวดเคลื่อนที่วางอยู่บนเดือยแหลม ทำให้ขดลวดเคลื่อนที่สามารถหมุนเคลื่อนที่รอบตัวเองได้อย่างอิสระ เมื่อจ่ายกระแสให้ไหลผ่านขดลวดเคลื่อนที่ส่งผลให้ขดลวดเคลื่อนที่เกิดสนามแม่เหล็กไฟฟ้าขึ้นมาขั้วของสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่เกิดขึ้นอยู่กับลักษณะการพันขดลวดเคลื่อน ที่โดยจะต้องพันขดลวดเคลื่อนที่ให้ได้ขั้วของสนามแม่เหล็กไฟฟ้าออกมาเหมือนกับขั้วของแม่เหล็กถาวรที่วางอยู่ใกล้ๆเป็นผลให้สนามแม่เหล็กทั้งสองเกิดการผลักกัน ทิศทางการบ่ายเบนของแม่เหล็กไฟฟ้าหาได้จากกฎมือซ้ายของเฟรมมิ่งซึ่งกล่าวไว้ดังนี้ให้กางนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้และนิ้วกลางของมือซ้ายออกโดยให้นิ้วทั้งสามตั้งฉากซึ่ง กันและกันนิ้วหัวแม่มือจะชี้ไปในทิศทางการเคลื่อนที่ของแม่เหล็กไฟฟ้า นิ้วชี้จะชี้ไปในทิศทางการเคลื่อนที่ของเส้นแรงแม่เหล็ก นิ้วกลางจะชี้ไปในทิศทางการเคลื่อนที่ของกระ แสอิเล็กตรอนเมื่อใช้นิ้วทั้งสามวางในทิศทางที่ถูกต้องจะสามารถหาทิศทางการเคลื่อนที่ของแม่เหล็กไฟฟ้าได้กฎมือซ้ายของเฟรมมิ่ง แสดงดังรูปที่1.1 | |||||
กฎมือซ้ายของ เฟลมมิ่ง
| |||||
การบ่ายเบนไปของแม่เหล็กไฟฟ้าดังกล่าวจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอำนาจแม่เหล็กไฟฟ้าที่เกิดขึ้นอำนาจแม่เหล็กไฟฟ้าเกิดขึ้นน้อยเกิดการบ่ายเบนน้อยอำนาจแม่เหล็กไฟฟ้า เกิดขึ้นมากเกิดการบ่ายเบนมากอำนาจแม่เหล็กดังกล่าวจะขึ้นอยู่กับปริมาณกระแสที่ไหลผ่านเข้าไปในขดลวดของสนามแม่เหล็กไฟฟ้ากระแสไหลมากอำนาจแม่เหล็กไฟฟ้า เกิดมากแม่เหล็กไฟฟ้าบ่ายเบนไปมากกระแสไหลน้อยอำนาจแม่เหล็กไฟฟ้าเกิดน้อยแม่เหล็กไฟฟ้าบ่ายเบนไปน้อย |
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น